วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

part 1 basic




Photoshop-CS6-basic-เทคนิคขั้นพื้นฐาน


บทความหลักที่ผมเขียนจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักด้วยกัน ได้แก่ ขั้นพื้นฐาน (basic) ขั้นกลาง หรือ ขั้นที่เริ่มพอจะรู้เกี่ยวกับเรื่องทั่วไป และการใช้งานเครื่องมือของโปรแกรม Photoshop CS6 ขึ้นมาบ้างแล้ว (intermediate) และส่วนสุดท้ายคือ ขั้นสูง (advance)

ขั้นพื้นฐาน (basic)

วิธีของผมที่จะเขียนเกี่ยวกับ Photoshop CS6 basic สำหรับน้องๆ หรือ เพื่อนๆ ที่เป็นมือใหม่หัดเรียนรู้เหมือนกัน จะเห็นว่าผมจะใช้วิธีที่อาจดูแล้วต่างจากทั่วไปที่เขียนกัน ผมจะเขียนแบบสบายๆ ไปเรื่อยๆ ไม่ได้เน้นเหมือนเป็นบทเรียนที่เคร่งเครียด แต่จะสอดแทรกการใช้เครื่องมือ และ เทคนิคต่างๆ ที่เป็นขั้นพื้นฐาน ไว้สำหรับใช้งานจริง คิดว่าวิธีนี้จะทำให้การเรียนรู้ ไม่รู้สึกว่าวิชาการเกินไป และ ไม่ทำให้น่าเบื่อ

โปรแกรม Photoshop CS6 มีส่วนสำคัญหลักที่ต้องทำความรู้จัก :

  1. เมนูของโปรแกรม Application Menu
  2. เมนูของพื้นที่ทำงาน Panel Menu
  3. เครืองมือใช้งาน Tool และ ส่วนควบคุมการใช้เครื่องมือ Tool Contorl Menu
รูปด้านล่างเป็นหน้าตาของโปรแกรม ผมได้แสดงส่วนสำคัญหลักต่างๆ ไว้ให้เห็น สำหรับรายละเอียดของแต่ละส่วน จะแสดงให้เห็นในการสอนแต่ละบทความ ซึ่งจะดีกว่า และเข้าใจมากกว่า เพราะไม่ต้องการให้ท่องจำ ว่าส่วนนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง ประมาณนั้น เรียนรู้จารการใช้งานจริงดีกว่า


1. วิธีเปิดและปิดโปรแกรม (Opening an Image and Closing work) 

การเปิดไฟล์ภาพให้แสดงในโปรแกรม Photoshop CS6 :

วิธีเปิดไฟล์ภาพจากหน้า Windows Desktop -  การเปิดไฟล์ภาพ ไม่ว่าจะนามสกุล JPG, PNG, GIF หรือ TIFF โปรแกรมวินโดส์จะเปิดจากโปรแกรม Window photo viewer ซึ่งเป็น Default program แต่ถ้าเราต้องการเปิดไฟล์ภาพแล้วให้เปิดจาก Photoshop มีวิธีที่จะทำให้เปิดไฟล์ภาพเหล่านี้โดย การคลิกขวาที่ไฟล์ภาพ แล้วเลือก Open with - Chosse default program - เลือกโปรแกรม Photoshop แต่ถ้าไม่เห็นโปรแกรม ให้คลิกที่ ลูกศรของ Other program ถ้ายังไม่เห็นอีก ต้องคลิกปุ่ม Browse เพื่อไปที่ซึ่งเก็บไฟล์โปรแกรม หลังจากนี้ทุกครั้งที่เราดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ภาพ ก็จะเปิดด้วยโปรแกรม Photoshop

วิธีเปิดไฟล์ภาพจากโปรแกรม Photoshop โดยตรง - เปิดภาพโดยใช้เมนูของโปรแกรม Photoshop เลือก File - Open - แล้วเลือกที่ๆ เราเก็บภาพไว้ - แล้วทำการดับเบิ้ลคลิกที่ภาพ
วิธีเปิดไฟล์ภาพจากโปรแกรม Bridge - มีด้วยกันหลายวิธีที่จะเปิดภาพจาก Bridge เพื่อให้ภาพไปแสดงในโปรแกรม Photoshop ขั้นแรกเปิดโปรแกรม Bridge แล้วทำตามวิธีการแต่ละแบบ

  • เปิดภาพโดยใช้เมนูของโปรแกรม Bridge คลิกที่ภาพนั้นก่อน แล้วเลือก File - Open 
  • เปิดภาพโดยใช้วิธีดับเบิ้ลคลิกที่ภาพ 
  • เปิดภาพโดยใช้คำสั่งคีย์ลัด คลิกที่ภาพที่จะเปิด แล้วกดปุ่ม Ctrl + O

วิธีเปิดไฟล์ภาพจากโปรแกรม Mini Bridge - ก่อนอื่นเราต้องเปิดแผงหน้าต่างของ Mini bridge ซึ่งเป็น Extension ตัวหนึ่งของ Photoshop CS6 โดยเปิดจากโปรแกรม Photoshop ใช้โปรแกรมเมนู Window - Extensions - Mini bridge ก็จะเห็นแผงของโปรแกรม Mini bridge แสดงอยู่ที่ด้านล่างของโปรแกรม Photoshop สำหรับการเปิดภาพทำโดย

  • คลิกขวาที่ภาพ แล้วเลือก Open with - Photoshop
  • คลิกที่ภาพ แล้วลากขึ้นมาที่พื้นที่ทำงานของโปรแกรม Photoshop โดยตรง
  • ดับเบิ้ลคลิกที่ภาพ

วิธีเปิดไฟล์ภาพจากโปรแกรม Camera Raw - การเปิดภาพด้วยวิธีนี้ เริ่มแรกมักจะเป็นการเปิดภาพจากโปรแกรม Bridge ให้ไปแสดงที่โปรแกรม Camera Raw ซึ่งภาพที่ใช้เปิดมักจะเป็นภาพที่โหลดมาจากกล้องถ่ายภาพ หรือ ที่เรียกว่า Raw File เพื่อทำการปรับแต่งขั้นพื้นฐาน เล็ก น้อย แต่ถ้าการปรับภาพยังไม่สมบูรณ์ และจำเป็นต้องใช้โปรแกรม Photoshop เพิ่ม

ขั้นตอนการเปิดไฟล์ภาพทำโดยอยู่ที่โปรแกรม Bridge คลิกขวาที่ภาพ - เลือก Open in Camera raw หรือใช้ คีย์ลัด Ctrl + R ภาพก็จะถูกเปิดที่โปรแกรม Camera Raw - ทำการปรับแต่งภาพ ถ้าผลที่ได้ยังไม่น่าพอใจ และต้องการโปรแกรม Photoshop ในการปรับแต่งเพิ่มเติม ให้กดปุ่ม Open Image ที่โปรแกรม Camera Raw ภาพก็จะถูกส่งไปเปิดที่โปรแกรม Photoshop



การปิดไฟล์งานในโปรแกรม Photoshop CS6 :

หลังจากที่ทำการเปิดไฟล์ภาพเพื่อทำการปรับแต่งภาพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีวิธีการปิดไฟล์งานต่างๆ ได้สองวิธีด้วยกัน คือ การปิดทีละชิ้นงาน และ การปิดครั้งเดียวทุกชิ้นงาน
การปิดทีละชิ้นงาน (Close)  คลิก Tab ชิ้นงานที่จะปิด แล้ว ใช้เมนูโปรแกรม เลือก File - Close หรือ ใช้คำสั่งคีย์ลัด โดยกดปุ่ม Ctrl + W
การปิดดครั้งเดียวทุกชิ้นงาน (Close All) ใช้เมนูโปรแกรม เลือก File - Close All หรือ ใช้คำสั่งคีย์ลัด โดยกดปุ่ม Alt + Ctrl + W

2. สัมผัสทั่วไปกับโปรแกรม Getting Around

ทำความรู้จัก Tab และ Window : 

โปรแกรม Photoshop CS6 สามารถกำหนดให้เปิดภาพเพื่อแสดงขึ้นมาในพื้นที่ทำงานได้สองแบบ คือ แสดงภาพแบบ Tab และ Window




วิธีกำหนดค่าการเปิดแสดงภาพ โดยไปที่ Preference ของโปรแกรม Photoshop กำหนดค่า Interface โดยเลือกที่ช่อง Open Document as Tabs ซึ่งเป็นการกำหนดเพื่อให้เปิดแสดงภาพในรูปแบบของ Tabs ถ้าเราไม่เลือกช่องนี้ ภาพที่เปิดจะแสดงเป็นแบบ Window

คุณสมบัติพิเศษ ถ้าเลือกที่ Enable Floating Document Window Docking ซึ่งอยู่ถัดจากช่องของ Open Document as Tabs เป็นการตั้งค่าเพื่อให้สามารถลาก Window ไปยังแถบของ Tab และเปลี่ยนลักษณะจาก Window เป็น Tab ได้

การเปิด preference / กด Ctrl + K 
 
การเปลี่ยนการแสดงภาพแบบ Tab เป็น Window  เวลาที่เราทำงาน อาจต้องการสลับการแสดงภาพ จาก Tab ให้เป็น Window หรือ กลับกัน สามารถใช้คำสั่งโดยใช้เมนูโปรแกรม เลือก Window - Arrange (ภาพซ้าย) เมื่อกด Aarrange แล้ว ก็จะมีรายการหลักสองส่วน (ภาพขวา) ให้เลือกว่าต้องการแสดงโดย การเรียงภาพ แบบใหน เช่น แนวตั้ง หรือ แนวนอนและ การแสดงภาพ แบบใหน
ถ้าต้องการเปลี่ยนการแสดงภาพแบบ Window ให้เป็น Tab ทั้งหมด ก็เลือก Consolidate All to Tabs / แต่ถ้าต้องการเพียง บางภาพ ทำโดยนำเม้าส์คลิกที่ Window นั้นแล้วลากไปที่แผงของ Tab จะมีแสงสีฟ้าแสดงตำแหน่งที่จะวางได้ให้เห็น และยังสามารถเลื่อน Tab สลับไปมาระหว่างแถวของ Tab ด้วยกัน โดยใช้เม้าส์คลิกค้างไว้ที่ Tab นั้นแล้วเลื่อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการแล้วปล่อยเม้าส์ ตามภาพที่แสดงไว้ด้านล่าง
ถ้าต้องการ บางภาพ ที่แสดงแบบ Tab ให้เป็นแบบ Window  ก็ให้คลิกที่ Tab นั้นแล้วเลือก Float in Window แต่ถ้าต้องการให้แสดง ทั้งหมด ก็เลือก Consolidate All to Windows โดยไม่ต้องคลิกที่ Tabใดๆ


ปรับแต่งพื้นที่การทำงาน Custom Panel and Workspace : 

รูปแบบพื้นที่การทำงานของโปรแกรม Photoshop CS6 มีอยู่ 7 รูปแบบด้วยกัน คือ Essential, New in CS6, 3D, Motion, Painting, Photography, Typography แต่ละแบบก็แปลความหมายของตัวเองอยู่แล้วว่าควรใช้กับชิ้นงานประเภทใหนกันบ้าง


วิธีการเลือกรูปแบบ ทำได้โดยการใช้โปรแกรมเมนู เลือก Window - Workspace - เลือกรูปแบบที่ต้องการ 
อีกวิธีหนึ่งทำได้โดยกดปุ่ม Workspace Bar จะมีรายการรูปแบบทั้งเจ็ดเลื่อนลงมาให้เลือก

Panel


การกำหนดพื้นที่ทำงานของเราเอง ทำได้เพราะโปรแกรม Photoshop CS6 มีระบบที่ทำให้เรากำหนดเองได้ โดยใช้เมนูโปรแกรม เลือก Window - เลือก Panel ที่ต้องการ (ภาพด้านขวา เริ่มตั้งแต่ 3D panel ) ให้แสดงอยู่ในพื้นที่การทำงาน เมื่อจัดตำแหน่งเรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่ม Workspace Bar - เลือก New Workspace - ทำการตั้งชื่อพื้นที่ทำงานของเรา - แล้วทำการ Save (ช่อง Keyboard Shortcuts / Menus จะเลือกหรือไม่ก็ได้ถ้าเราไม่มีการปรับตั้งค่าใหม่ในสองส่วนนี้ก็ไม่ต้องเลือก) หลังจากทำการบันทึกแล้ว ถ้าเรากดปุ่ม Workspace Bar ก็จะมีรายชื่อที่เราบันทึกไว้ แสดงรวมอยู่กับรายการพื้นที่อื่นๆ  (ชื่อที่เห็นบนปุ่ม Workspace Bar นี้จะเปลี่ยนไปตามการแสดงชื่อพื้นที่ปัจจุบันที่เราเลือก)


การลบพื้นที่การทำงาน ถ้าคิดว่าไม่ต้องการใช้รูปแบบพื้นที่เรา กำหนดขึ้นเอง อีกต่อไปแล้ว ก็ให้กดปุ่ม Workspace Bar - Delete Workspace

การปรับพื้นที่ทำงานใหม่จากพื้นที่ทำงานเดิม ถ้าต้องการปรับพื้นที่ทำงานที่เราสร้างขึ้นมา แต่ไม่พอใจต้องการเปลี่ยนให้เหมาะสมมากขึ้น ทำได้โดยกดปุ่ม Workspace Bar เลือกพื้นที่การทำงานที่เราสร้างไว้ แล้วทำการปรับแต่ง - เสร็จแล้วเลือก New Workspace - ตั้งชื่อให้เหมือนเดิม - ยืนยันการบันทึก

การเรียกคืนการตั้งค่าเดิม เวลาที่เราอยู่ในหน้า Workspace ของเรา แล้วมีการเปิด Panel อื่นเพิ่มขึ้นมาเพื่อใช้งาน เปิดไป เปิดมา เริ่มที่จะเต็มไปหมด เริ่มที่จะรกแล้ว ให้ทำการเรียกคืนการตั้งค่าเดิม Workspace ของเรา โดยกดปุ่ม Workspace - เลือก Reset ที่เป็นชื่อ Workspace ของเรา แค่นี้เองครับ

ซูมภาพ : 

การซูมออก (Zoom Out) ภาพจะเล็กลง
  • โปรแกรมเมนู View เลือก Zoom out
  • การใช้คีย์ลัด กดปุ่ม Ctrl + minus sign (เครื่องหมาย -)
  • เครื่องมือซูม (Zoom Tool) คลิกที่รูปแว่นขยาย  หรือ ใช้คีย์ลัดโดยการกดตัว Z + Alt ลูกศรของเม้าส์จะเปลี่ยน         เป็นรูปแว่นขยาย คลิกที่ภาพแต่ละครั้งก็จะทำการซูมออกตามจำนวนครั้งที่คลิก แต่ถ้าต้องการ ซูมแบบต่อเนื่อง  ให้ทำลักษณะเดียวกัน แต่คลิกเม้าส์ค้างไว้ หรือ เลื่อนเม้าส์ไปทางซ้าย ภาพจะทำซูมออกแบบต่อเนื่อง
  • กดปุ่ม Alt + Ctrl + Space bar ค้างไว้ และคลิกที่ภาพ
  • กดปุ่ม Alt + Scroll Downward (เลื่อนตัวหมุนที่อยู่ตรงกลางของเม้าส์ ลง)
  • การคีย์ตัวเลขขนาดที่ต้องการซูมออก ที่ช่องบอกขนาดภาพ ซึ่งอยู่ด้านล่าง ซ้ายมือ แล้วกด Enter
  • กดปุ่ม Ctrl + ใช้เม้าส์ชี้ที่ช่องบอกขนาดภาพ เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปมือ และมีลูกศรซ้ายขวาอยู่ที่นิ้วชี้ ให้เลื่อนเม้าส์ไปทางซ้าย
การซูมเข้า (Zoom In) ภาพจะใหญ่ขึ้น
  • โปรแกรมเมนู View - Zoom in
  • การใช้คีย์ลัด กดปุ่ม Ctrl - plus (เครื่องหมาย +)
  • เครื่องมือซูม (Zoom Tool) คลิกที่รูปแว่นขยาย หรือ ใช้คีย์ลัดโดยการกดตัว Z ลูกศรของเม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปแว่นขยาย คลิกที่ภาพแต่ละครั้งก็จะทำการซูมเข้าตามจำนวนครั้งที่คลิก แต่ถ้าต้องการ ซูมแบบต่อเนื่อง ให้ทำลักษณะเดียวกัน แต่คลิกเม้าส์ค้างไว้ หรือ เลื่อนเม้าส์ไปทางขวา ภาพจะทำซูมเข้าแบบต่อเนื่อง 
  • กดปุ่ม Ctrl + Space bar ค้างไว้ และคลิกที่ภาพ
  • กดปุ่ม Alt + Scroll Upward (เลื่อนตัวหมุนที่อยู่ตรงกลางของเม้าส์ ขึ้น)
  • การคีย์ตัวเลขขนาดที่ต้องการซูมเข้า ที่ช่องบอกขนาดภาพ ซึ่งอยู่ด้านล่างซ้ายมือ - แล้วกด Enter
  • กดปุ่ม Ctrl + ใช้เม้าส์ชี้ที่ช่องบอกขนาดภาพ เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปมือ และมีลูกศรซ้ายขวาอยู่ที่นิ้วชี้ ให้เลื่อนเม้าส์ไปทางขวา

การเลื่อนภาพ (Scrolling and Panning Image) :

  • ลูกกลิ้งของเม้าส์ เลื่อนขึ้น สำหรับการเลื่อนภาพขึ้น และกลับกัน
  • ลูกกลิ้งของเม้าส์ + กดปุ่ม Ctrl สำหรับการเลื่อนภาพแนวนอน ถ้าเลื่อนขึ้นจะเป็นการเลื่อนภาพไปทางขวา และกลับกัน
  • เครื่องมือ Hand Tool (ไอคอนรูปมือที่แสดงบนแถบเครื่องมือ) หรือ กดคีย์ลัด H เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปมือ คลิกค้างไว้ที่ภาพแล้วเลื่อนภาพได้ตามที่ต้องการ
  • กดปุ่ม Space Bar ค้างไว้  เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปมือ คลิกค้างไว้ที่ภาพแล้วเลื่อนภาพได้ตามที่ต้องการ
  • Bird Eye View เป็นเครื่องมือซึ่งใช้ในกรณีพิเศษ เป็นการใช้ขณะที่เราทำการขยายภาพใหญ่มากๆ เพื่อดูเฉพาะจุดนั้น แล้วต้องการเปลี่ยนจุดที่ต้องการดูไปยังจุดอื่น ให้คลิกเครื่องมือ Hand Tool หรือ กด H คลิกเม้าส์ค้างไว้ที่ภาพ เม้าส์จะมีสัญญลักษณ์สี่เหลี่ยมแสดงขึ้นล้อมรอบเม้าส์ พร้อมทั้งภาพจะลดขนาดลงไปให้เราเห็นทั้งภาพ ทำการเลื่อนเม้าส์ไปยังจุดที่เราต้องการดู ปล่อยเม้าส์ ภาพจะขยายขึ้นมาตามขนาดเดิม และส่วนที่เราเลือกจะอยู่กึ่งกลางหน้าจอทำงานพอดี


เทคนิค ขณะที่แสดงภาพเป็นแบบ 2 Up Vertical ให้กดShift + Space Bar ค้างไว้ แล้วใช้เม้าส์คลิกค้างไว้ที่ภาพใดภาพหนึ่ง ทำการเลื่อนภาพ ภาพทั้งสองจะทำการเลื่อนไปในทิศเดียวกัน และพร้อมกัน การทำแบบนี้เหมาะกับการดูภาพที่เหมือนกันสองภาพ เช่น ภาพก่อนแต่ง หรือ หลังแต่งภาพ เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลง

เทคนิคการเลื่อนภาพพร้อมกัน

การปรับหน้าจอแสดงภาพ (Screen Mode) :

จอแสดงภาพของโปรแกรม Photoshop CS6 มีด้วยกัน 3 แบบ การเลือกแต่ละแบบทำได้โดย คลิกที่ไอคอน Change Screen Mode (รูปสี่เหลี่ยมซ้อนกันสองรูป) ที่แถบเครื่องมือ หรือ จะกดคีย์ลัด F ก็ได้ กด F แต่ละครั้งจอแสดงภาพก็จะเปลี่ยนสลับกันไปแบบเดินหน้า ถ้าต้องการย้อนการแสดงจอภาพ ให้กด Shift + F
รูปแบบของจอแสดงภาพ ได้แก่ Standard Screen, Full Screen mode with Menu bar, Full Screen
ขณะที่อยู่ในรูปแบบใดแบบหนึ่งของจอแสดงภาพ ยังสามารถที่จะสั่งให้แสดง หรือ ซ่อน แถบเครื่องมือ และ แถบ Panel ได้อีกด้วย โดยการใช้ปุ่มต่างๆ ดังนี้

  • กดปุ่ม Tab เป็นการซ่อน แถบเครื่องมือ แผงควบคุมเครื่องมือ และ แถบ Panel กด Tab อีกครั้งเป็นการเปิดขึ้นมาจากการซ่อน
  • กดปุ่ม Shift + Tab เป็นการซ่อนแถบ Panel อย่างเดียว กดอีกครั้งเป็นเปิดขึ้นมาจากการซ่อน
การปรับขนาด Layer Thumbnail  :
วิธีนี้ใช้เพื่อให้เหมาะกับการทำงาน เช่น ถ้าขนาด thumbnail มีขนาดเล็ก การมองภาพหรือรายละเอียดของ thumbnail จะยากกว่าขนาดที่ใหญ่ แต่ถ้างานชิ้นที่ทำนั้นมี เลเยอร์ (layer) มาก ก็จำเป็นที่จะต้องปรับขนาดให้เล็กลง
วิธีปรับขนาด Thumbnail แต่ละชิ้นงาน ทำได้โดย คลิกขวาบนพื้นที่ว่างของเลเยอร์ panel (ไม่ใช่ที่ตัวเลเยอร์) แล้วทำการเลือกขนาด ซึ่งมี 3 ขนาด คือ Small Medium and Large
วิธีปรับขนาด Thumbnail ให้กับทุกชิ้นงาน ทำได้โดยคลิกที่ลูกศรคว่ำบนแถบเลเยอร์ เลือก panel option แล้วคลิกเลือกขนาดที่ต้องการ

3. ขนาดและความละเอียดของภาพ (Image and Resolution)

รูปภาพ ประกอบด้วยจำนวนพิกเซลมากมาย ยิ่งภาพนั้นมีความละเอียดมากเท่าไร ภาพนั้นก็มีความชัดเจนมากขึ้น แต่แน่นอนขนาดของภาพก็จะใหญ่ขึ้นตามกัน
วิธีคำนวณจำนวนพิกเซลของภาพ ใช้ ขนาดความกว้าง (pixel) x ขนาดความสูง (pixel) จะได้จำนวนพิกเซลรวม สำหรับความละเอียดของภาพ (Resolution) ดูได้จากจำนวนพิกเซลรวมกันต่อขนาดพื้นที่ เช่น 300 pixel per inch (PPI) ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะกับงานสิ่งพิมพ์
โปรแกรม Photoshop สามารถกำหนดขนาดของภาพ และความละเอียดได้ขณะที่สร้างงานใหม่ขึ้นมา สามารถกำหนดขนาด Width and Height เป็น Pixels, Inches, Centimeters, Millimeters, Points, Picas, Columns


ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงขนาด หรือ ความละเอียดของชิ้นงานหลังจากที่ได้กำหนดไว้แล้วตั้งแต่ต้น ขั้นแรกจะต้องเปิดหน้า Image Size โดยใช้เมนูโปรแกรม Image เลือก Image size ก็จะได้หน้าต่างดังกล่าว สามารถทำการรปรับแต่งได้เป็น 3 ส่วน

ส่วนที่หนึ่ง Pixel Dimension เป็นการปรับสัดส่วนขนาดของภาพที่แสดงบนหน้าจอ
ส่วนที่สอง Dimension size เป็นการปรับขนาดของภาพที่จะใช้พิมพ์
ส่วนที่สาม Scale style, Constrain, Resample Image เป็นส่วนที่ใช้กำหนดความสัมพันธ์ในการปรับแต่งของส่วนที่หนึ่ง และ สอง

การปรับแต่ง (Resample)  ทำได้สองแบบด้วยกัน คือ การเพิ่ม Up sample ลด Down sample ขนาดของภาพ
Upsample เป็นการเพิ่มพิกเซลเข้าไปให้กับภาพ ซึ่งก็จะทำให้ภาพมีขนาดใหญ่ขึ้น และความละเอียดมากขึ้น ซึ่งควรจะตั้งค่าเป็น Bicubic Smoother

Downsample เป็นการทำลักษณะกลับกัน กับ Upsample และควรจะตั้งค่าเป็น Bicubic Sharpe


4. รู้จ้กเทคนิคการบันทึกงานแต่ละประเภท (Saving )

การบันทึกงานแบ่งออกได้หลายแบบ เช่น บันทึกเป็นไฟล์งาน Photoshop (PSD),  TIFF, PNG, JPEG
เพื่อให้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภททจะนำไปใช้ต่อไป


บันทึกงานเป็นไฟล์ PSD การทำงานในโปรแกรม Photoshop จะมีการปรับแต่งหลายแบบ เมื่อทำการบันทึก ต้องให้แน่ใจว่าได้เลือกสิ่งที่ได้ปรับแต่งไว้ในงานประเภทต่างๆ อย่างครบถ้วน เช่น  Layer, Alpha channel และ อื่นๆ แต่อย่าลืมดูให้แน่ใจว่าช่อง As a copy จะต้องไม่ถูกเลือก อีกอย่างเพื่อประหยัดเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์ ไม่ต้องทำเครื่องหมายเลือกที่ช่อง Maximize compatibility ถ้าแน่ใจว่าไม่ได้นำไฟล์นี้ไปใช้กับ Photoshop ตระกูลอื่นเช่น Photoshop Lightroom เป็นต้น



1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ30 มกราคม 2565 เวลา 15:03

    Top 10 online casino and sportsbook operators
    The online gambling industry kadangpintar is growing fast 바카라 사이트 in the number of online and mobile casinos, with players seeking 제왕 카지노 to play casino games in various states

    ตอบลบ