วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

part 3 advanced



part 3  advanced

วิธีกำหนดคีย์ลัดให้กับส่วนต่างๆ ของโปรแกรม

สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้เราทำชิ้นงานของเราได้รวดเร็ว นั่นคือการรู้จักใช้คีย์ลัดของโปรแกรม และเครื่องมือต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่ต้องไปเสียเวลากับการต้องคลิกคำสั่งทีละขั้นตอน
กำหนดคีย์ลัด ทำได้โดย โปรแกรมเมนู Edit เลือก Keyboard Shortcut หรือ คียลัด Ctrl + Alt + Shift + K หน้าต่าง Keyboard Shortcut ก็จะเปิดขึ้นมา จะมีอยู่สองส่วนด้วยกัน คือ Keyboard Shortcuts กับ Menus จะกำหนดในช่อง Keyboard Shortcuts ทั้งหมดก็ได้ เพราะ Menus ก็รวมอยู่ในส่วนนี้เช่นกัน

วิธีใส่คีย์ลัด ก็ทำได้โดย ให้คลิกที่ลูกศรของแต่ละส่วนเพื่อให้เปิดขยายออก แล้วคลิกในแถวของ Shortcut สำหรับรายการที่ยังไม่มีคีย์ลัดแสดง (ตามรูป) ให้ทำการใส่คีย์ลัดที่ต้องการ ถ้าคีย์ลัดนั้นซ้ำกับตัวอื่น โปรแกรมจะมีการเตือน ถ้าเราต้องการเปลี่ยนคีย์ลัดมาใช้กับรายการนี้ก็เพียงกด Accept แต่ถ้าไม่ต้องการก็ Undo Changes เมื่อได้ครบตามที่ต้องการแล้วให้ทำการบันทึก โดยปุ่มการบันทึกจะอยู่ก่อนหน้ารูปถัง ปุ่มแรกเป็นการบันทึกทับของเดิม ถัดไปสำหรับการบันทึกไฟล์ใหม่ ถ้าต้องการลบไฟล์คีย์ลัด ก็ให้เลือกไฟล์ในช่อง Shortcuts For แล้วกดรูปถัง

\
การเลือกเครื่องมือถัดไปในกลุ่มของเครื่องมือเดียวกันด้วยคีย์ลัดเครื่องมือของโปรแกรม Photoshop จะมีคีย์ลัดกำหนดให้อยู่แล้ว เมื่อจะเลือกเครื่องมือใด ก็เพียงแต่กดคีย์ลัดเท่านั้น แต่เครื่องมือส่วนใหญ่จะมีหลายตัวในกลุ่มเดียวกัน อาจนึกว่ายังไงก็ต้องใช้การคลิกเพื่อเลือกเครื่องมืออยู่ดี แต่เดี๋ยวก่อนครับ ถ้าต้องการเลือกเครื่องมือตัวอื่นในกลุ่มเดียวกัน ทำได้โดยการใช้คีย์ลัดเช่นเดิม เพียงแต่ให้เพิ่มการการปุ่ม Shift เท่านั้น เช่นถ้าเราต้องการใช้เครื่องมือในกลุ่ม Marquee ตัวแรกของเครื่องมือคือ Reactangular Marquee Tool คียลัดคือ M ถ้ากดปุ่ม M จะเป็นการเรียกเครื่องมือล่าสุดที่ใช้ ถ้าเรากดปุ่ม Shift + M ก็จะเปลี่ยนเป็นการเลือกเครื่องมือ Ellipticla Marquee Tool แทน และก็จะเลื่อนไปเรื่อยๆ จนครบทุกเครื่องมือ


หน้าต่างแสดงการเตือนของโปรแกรมหลายครั้งที่รู้สึกรำคาญกับการเตือนของโปรแกรมที่ขึ้นหน้าต่างเพื่อเตือนในเรื่องต่างๆ จึงไปคลิกที่ช่อง Don't show again ทำให้ไม่มีการเตือนอีกต่อไป จนทำให้บางครั้งลืม และไปทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง จึงมีความคิดอยากที่จะเรียกหน้าต่างการเตือนนี้กลับมาอีกครั้ง วิธีทำง่ายมากครับ โดยให้ไปที่การตั้งค่า Preference ของโปรแกรม หรือ กดปุ่ม Ctrl + K แล้วไปกดปุ่ม Reset All Warning Dialogs

HUD Color Picker ขอแนะนำวิธีการเลือกสีอีกรูปแบบที่มีในโปรแกรม Photoshop ปกติเราจะเลือกสีจาก Color Picker ปกติ ที่อยู่ในรูปแบบหน้าต่างกรอบสี่เหลี่ยม 


แต่ผมจะแนะนำเทคนิคในการเลือกสีจาก HUD Color Picker ซึ่งใช้ได้กับทุกเครื่องมือที่ใช้งานอยู่ขณะนั้น ยกเว้น เครื่องมือการทำ Selection  
วิธีใช้ก็ง่ายมาก เมื่ออยู่ที่ชิ้นงานให้ใช้คำสั่งคีย์ลัด Shift + Alt + Right click จะเห็นตามรูปที่แสดง เลือกสี่
Hue ได้จากการเลื่อนไปที่แถบด้านนอก เมื่อได้สีที่ต้องการแล้วมาเลือก Saturate กับ Brightness ที่กรอบด้านใน แบบแรกจะเป็น Strip และแบบทีสองเป็นแบบ Wheel จะเลือกแบบใหน ให้ไปตั้งค่าที่ Preference ในส่วนของ HUD Color Picker







Blend if  เป็นตัวเลือกตัวหนึ่งที่อยู่ในการปรับแต่งภาพด้วย Layer Style ลักษณะนั้นจะเป็นการปรับความส่องสว่าง Luminance ของเลเยอร์ที่มีผลกระทบระหว่างสองเลเยอร์ด้วยกัน นั่นคือเลเยอร์ที่เราใช้งานอยู่ This Layer และเลเยอร์ที่อยู่ด้านล่างจากเลเยอร์ที่ใช้งาน Underlying Layer การทำงานของ Blend if คือจะทำให้ค่า Luminance ของ Shadow หรือ Highlight ที่กำหนดหายไป และจะทำให้สามารถเห็นภาพทะลุจากเลเยอร์หนึ่งไปอีกเลเยอร์หนึ่ง สามารถกำหนดสีที่จะปรับได้จากช่อง Blen If ซึ่งมีให้เลือก 4 สี คือ Gray, Red, Green, Blue ค่า Default คือ Gray ปุ่มแถบด้านสีดำจะแทนค่า Shadow และ ปุ่มแถบด้านสีขาวจะแทนค่า Highlight สามารถแยกขาของปุ่มแถบออกจากกัน ถ้าปรับโดยการแยกแถบออก จะเป็นการส่วนของ Luminance ทั้งของ Shadow หรือ Highlight เกิดความ Soft หรือ เบลอ

การจัดเรียงตำแหน่งภาพ Auto-Align การถ่ายภาพที่มี Background เหมือนกันหลายๆ ภาพ บางครั้งจำเป็นต้องนำภาพเหล่านี้มาปรับแต่งโดยการผสมภาพเข้าด้วยกัน (ไม่ต่ำกว่า 3 ภาพ) แต่ก่อนที่จปรับแต่งภาพได้จะต้องทำให้ Background ถูกจัดเรียงให้ตรงกันก่อน ทำได้โดยนำภาพทั้งหมดเข้าสู่โปรแกรม Photoshop เลือก Edit เลือก Auto-Align Layer เลือกรูปแบบเป็น Auto แล้วกดปุ่ม OK แต่ก่อนที่จะใช้คำสั่ง ต้องทำการคลิกเลือกทุกเลเยอร์ที่ต้องการจัดเรียงก่อน 


Smart Object 

เครื่องมือนี้เหมือนกับเป็นซองสำหรับใส่เลเยอร์ ไม่ว่าจะเป็น ภาพ หรือ ตัวหนังสือ ต้นฉบับของเราจะถูกเก็บไว้ไม่ให้เสียหายเนื่องจากการปรับแต่ง  เพราะการปรับแต่งต่างๆ ไม่ได้เกิดจากการปรับแต่งที่ตัวภาพโดยตรง สิ่งที่ใช้ในการปรับแต่งจะเป็นเหมือนกับสำเนาอีกชุด เช่น
  • การย่อภาพ Transform ให้เหลือขนาดเล็กมากๆ ถ้าต้องการขยายให้ใหญ่เท่าเดิมอีกครั้ง ภาพนั้นจะไม่ชัด แต่ถ้าการย่อภาพที่มี Smart Object ภาพนั้นจะยังคงชัดเหมือนเดิม 
  • การใส่ Filter ต่างๆ ให้กับภาพ โปรแกรม Photoshop จะสร้างเลเยอร์ขึ้นมาเป็นเลเยอร์ Smart Filter จึงสามารถที่จะแก้ไข ซ่อน หรือลบ Filter เมื่อไรก็ได้ และจะไม่ทำให้ภาพต้บฉบับถูกทำลาย
การทำให้เลเยอร์ภาพ หรืองานของเราเป็น Smart Object โดยโปรแกรมเมนู Layer เลือก Smart Object เลือก Convert to Smart Object หรือ คลิกขวาที่เลเยอร์ เลือก Convert to Smart Object หรือใช้คีย์ลัดที่ตั้งไว้ Ctrl + , ง่ายที่สุดครับ

วิธีนำภาพเข้าสู่ชิ้นงานให้เป็นแบบ Smart Object ทำได้ 3 วิธี

  • โปรแกรมเมนู File เลือก Place เลือกไฟล์ภาพที่ต้องการ
  • นำเข้าจากโปรแกรม Mini Bridge โดยการลากภาพขึ้นมาบนโปรแกรม Photoshop โดยตรง
  • คลิกลากภาพจาก Drive ที่เก็บภาพเข้ามาที่โปรแกรม Photoshop โดยตรง
  • เปิดจากโปรแกรม Camera Raw โดยการกดปุ่ม Shift แล้วคลิก Open Image
เมื่อนำภาพเข้ามาที่โปรแกรม Photoshop แล้ว จะมีลักษณะเป็นเชือกขึงทั้งสี่มุมตามภาพข้างล่าง ทั้งนี้เพื่อสะดวกสำหรับการปรับขนาด สามารถทำการปรับขนาดได้โดยการลากที่มุมใดมุมหนึ่ง เสร็จแล้วกด Enter


การเปิดชิ้นงานต้นฉบับ เมื่ออยู่ใน Smart Object แล้วต้องการเรียกงานต้นฉบับเพื่อทำการปรับแต่ง หรืออะไรก็ตาม ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Smart Object ซึ่งอยู่ด้านล่างสุด ขวามือในกรอบของ Thumbnail จะมีกรอบเตือนแสดงขึ้นมา ให้คลิก OK เพราะเป็นเพียงการแจ้งว่าจะต้องบันทึกชิ้นงานโดยบันทึกที่ไฟล์เดิมเท่านั้น ก่อนที่จะออกจากชิ้นงานต้นฉบับเพื่อกลับมายัง Smart Object จากนั้นก็จะเข้าสู่หน้าชิ้นงานต้นฉบับ



การ Clone Smart Object การแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามกับ Group Smart Object ถ้าแก้ที่เลเยอร์ใด จะส่งผลกับเลเยอร์ทั้งหมดใน Group
Stack Mode เป็นเมนูที่อยู่ในเครื่องมือ Smart Object  วิธีเปิดเมนู โดยโปรแกรมเมนู Layer เลือก Smart Object เลือก Stack Mode ประกอบด้วยรายการต่างๆ ตามภาพ เมนูนี้สามารถใช้ร่วมกับ Auto-Align Layer 
โดยใช้หลังจากทำ Auto-Align Layer แล้ว ให้รวมทุกเลเยอร์เป็น Smart Object เลเยอร์เดียว จากนั้นใช้เมนู Stack Mode สามารถใช้ Stack Mode ในการทำให้คนหายออกไปจากภาพได้อย่างง่ายดาย ด้วยวิ
ธีการเลือกรายการของ Stack Mode ได้แก่ Maximum และไล่เรียงลำดับความเข้มของการนำภาพออกตามลำดับ Minimum, Mean, Median,  Maximum


การปรับภาพให้เกิดแสงและเงา Shadow and Highlight 

คือการทำในส่วนที่เป็น Shadow ให้สว่างขึ้น และทำในส่วนที่เป็น Highlight ให้มืดลง หรือก็คือการลด Contrast ของภาพ การทำเช่นนี้จะทำให้ภาพเกิดความคมชัด ก่อนทำการปรับภาพควรทำให้เลเยอร์ภาพเป็น Smart Object ก่อนนะครับ เพื่อไม่ให้เกิดการทำลายภาพต้นฉบับ การเปิดใช้เครื่องมือให้ใช้โปรแกรมเมนู Image เลือก Adjustment เลือก Shadow and Highlight


บทความเกี่ยวกับเรื่อง Shadow and Highlight ได้เขียนไปบ้างในบทความขั้นพื้นฐาน ในส่วนนี้จะเป็นการเจาะลึกถึงเทคนิคเพิ่มมากขึ้น

เมื่อเปิดเครื่องมือขึ้นมาแล้ว จะมีอยู่สองส่วนตามหัวข้อ คือส่วนของการปรับ Shadow และ ส่วนของการปรับ Highlight แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับจะได้ทำการปรับได้ถูก เพราะในส่วนของแถบ Shadow นั้นใช้สำหรับทำให้ภาพสว่างขึ้น แต่ส่วน Highlight จะทำให้ภาพมืดลง ค่า Default ของ Shadow and Highlight คือ 35 และ 0 เปอร์เซ็นต์ ถ้าต้องการดูภาพก่อนปรับให้ยกเลิกการคลิกช่อง Preview

แถบ Tonal Width จะมีทั้งในส่วนของ Shadow และ Highlight ค่าเริ่มต้นจะตั้งอยู่ที่ 50% หมายความว่า ส่วนที่มืดที่สุด 50% จะเป็นส่วนของ Shadow และส่วนที่สว่างที่สุด 50% จะเป็นส่วนของ Highlight แถบนี้ถ้าไม่จำเป็น หรือไม่ชำนาญ ไม่ควรปรับปล่อยไว้ตามค่าที่ตั้งไว้ดีที่สุด แต่ถ้าอยากลองปรับ ควรปรับให้ทั้งสองส่วนเมื่อรวมกันแล้วจะต้องให้ได้เท่ากับ 100% เสมอ 

ส่วนที่สำคัญหลังจากปรับ Amounts ของ Shadow and Highlight แล้ว ควรจะปรับในส่วนของ Radius การปรับ Radius คือการทำให้ส่วนที่เป็นรัศมี (Halos) ของส่วนที่เป็น Shadow สว่างขึ้น และทำให้ส่วนที่เป็นรัศมี (Halos) ของส่วนที่เป็น Highlight มืดลง ซึ่ง Halos ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นผลมาจากการปรับของ Shadow and Highlight นั่นเอง การทำเช่นนี้จะช่วยให้ภาพมี Contrast ขึ้นมาอีก



ส่วนของ Adjustment ซึ่งเป็น่วนที่สามของเครื่องมือ Shadow and Highlight ประกอบด้วย :
  • Color Correction เป็นส่วนที่ใช้ในการเพิ่ม Saturation หรือ ความอิ่มตัวของสี
  • Midtone Contrast ส่วนมาจะใช้สำหรับการปรับ เพิ่ม หรือ ลด ส่วนที่เป็นสีเทาซึ่งมักเกิดกับส่วนที่เป็นขอบของภาพ
  • Black Clip และ White Clip ปล่อยไว้ตามค่าเริ่มต้นไม่ต้องปรับอะไร ส่วนนี้เป็นส่วนของการ Clip Luminance Level ภายในภาพสำหรับส่วนที่เป็นสีดำ และ สีขาว ตามจำนวนเปอร์เซ็นต์
  • Save As Defaults ใช้สำหรับตั้งค่าให้เป็นค่าเริ่มต้น

การปรับความคมชัดด้วย เครื่องมือ Curve Adjustment Tool 

เครื่องมือนี้ใช้ในการปรับ Luminance เพื่อให้เกิดความสมดุลของ Contrast (ความแตกต่างระหว่างสีดำและสีขาวที่แสดงให้เห็นบนภาพ) เครื่องมือนี้เหมือนเป็นพี่ใหญ่ในส่วนของการปรับ Contrast ที่มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีมากอีกตัวของโปรแกรม Photoshop เพราะจะรักษารายละเอียดของภาพได้ดีที่สุด ลำดับเครื่องมือที่ใช้สำหรับการปรับ Contrast ทีใช้กันนั้น เริ่มต้นจากการใช้ Brightness/Contrast ตามด้วย Level และสุดท้ายก็คือ Curve เครื่องมือนี้ยังมีปุ่ม Auto Adjustment สำหรับมือใหม่ เพียงคลิกปุ่ม Auto เท่านั้น ภาพก็จะถูกปรับอย่างสวยงามโดยอัตโนมัติ

เครื่องมือนี้จะอยู่ในส่วนของ Adjustment Panel เริ่มจากกรอบของภาพ มุมด้านล่างปุ่มสีดำจะเป็นส่วนของการปรับสีดำ ส่วนปุ่มสีขาวเป็นส่วนของการปรับสีขาว เส้นกร๊าฟที่เห็นเรียกว่า Histogram เส้นทแยงมุมที่เห็นคือเส้น Curve Graph ซึ่งเป็นเส้นที่ใช้ในการปรับ 
วิธีปรับ ทำได้โดยการคลิกทีเส้น จะทำให้เกิดจุดบนเส้น เมื่อคลิกเส้นแล้วลาก โดยลากจากส่วนล่างขึ้นบน จะทำให้เกิดความสว่าง และกลับกัน ค่าตัวเลขที่อยู่ในช่อง Input และ Output หมายถึงตัวเลขของ Luminance ตั้ง 0 - 255 

Input คือ ค่าความ Contrast ของภาพก่อนปรับ 
Output คือค่าความ Contrast ของภาพหลังจากการปรับ

การเลื่อนจุดบนเส้นทำได้อีกวิธีคือ เมื่อคลิกที่เส้นเพื่อสร้างจุดแล้ว ใช้ปุ่มลูกศรบนแป้นพิมพ์ในการเลื่อน การใช้ปุ่มซ้ายและขวา เป็นการปรับค่า Input ปุ่มบนล่าง เป็นการปรับค่า Output

การเลือกปุ่มหลายปุ่มเพื่อทำการเลื่อนพร้อมกัน โดยการ กดปุ่ม Shift + คลิกทุกปุ่มที่ต้องการเลื่อนพร้อมกัน

การเลื่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดบนเส้นกร๊าฟ ขณะที่คลิกอยู่บนจุดใดจุดหนึ่งบนเส้นกร๊าฟ ให้กดเครื่องหมาย + เพื่อเลื่อนไปยังจุดต่อไปแบบเดินหน้า และ - เพื่อเลื่อนแบบถอยกลับ

ไอคอนที่เป็นรูปมือ เมื่อคลิกที่รูปมือแล้วนำมาคลิกที่ภาพตามจุดที่ต้องการปรับ จะทำให้เกิดจุดขึ้นบนเส้นกร๊าฟ และเมื่อทำการลากขึ้น หรือ ลง จุดนั้นจะขยับตามไปด้วยเหมือนกับทำการปรับโดยการคลิกที่เส้นกร๊าฟเช่นกัน

การยกเลิกจุดบนเส้นกร๊าฟ ทำได้โดยนำเม้าส์ไปคลิกที่จุดนั้นๆ แล้วลากออกมานอกกรอบ หรือ กดปุ่ม Ctrl แล้วคลิกที่ปุ่มนั้นก็ได้

การสร้างเส้น Curve Graph แบบอิสระ โดยคลิกเลือกไอคอนรูปดินสอ ทำการลากเส้นตามต้องการ
Preset คือส่วนที่บันทึกการตั้งค่าไว้สำหรับการเรียกใช้ครั้งต่อไป เครื่องมือ Curve ได้ทำ Preset ไว้ให้หลายตัวเหมือนกันลองเลือกใช้ดู หรือถ้าต้องการบันทึกของเราเองก็ทำได้ โดยหลังจากทำการปรับเป็นที่พอใจแล้ว ให้คลิกที่ลูกศรมุมบนสุดของเครื่องมือ แล้วเลือก Save Curve Preset

ถ้าต้องการปรับค่า Curve โดยเน้นการปรับที่แต่ละสี Red Green Blue ให้คลิกที่ช่อง RGB แล้วเลือกแต่ละสีก่อนการปรับ

การปรับสีของภาพให้เกิดความ Contrast มากที่สุดทำโดย ปรับจากจุดสำคัญสามจุด 
ได้แก่ จุดที่มืดที่สุดซึ่งมีค่าเท่ากับ 0 จุดที่สว่างทีสุดเท่ากับ 255 และจุดของแสงทีประมาณ 3/4 หรือประมาณ 190 ของภาพ โดยการคลิกที่ไอคอนรูปมือ เม้าส์จะกลายเป็นรูปหลอดดูดสี ขณะที่เลื่อนไปบนภาพ ให้สังเกตุตัวเลขที่ช่อง Input



การสร้างสี Gradient ด้วยตนเอง 

สี Gradient คือ รูปแบบของสีที่มีการไล่ความเข้มของสีให้สวยงาม บางครั้งชุดสี Gradinet ที่มีให้ในโปรแกรม Photoshop ไม่ตรงกับความต้องการในการแต่งภาพ บทความนี้จะเขียนถึงการสร้างสี Gradient ตามความต้องการของเราเอง 

สามารถทำได้โดย ให้เปิดเปิดเครื่องมือ Gradient ที่แถบเครื่องมือ แล้วไปคลิกที่่ช่องแถบสีบนแถบควบคมุเครื่องมือ Gradient จะได้หน้าต่าง Gradient Editor ตามภาพ สังเกตุที่แถบสี จะมีปุ่มอยู่ด้านบน 2 ปุ่ม ใช้สำหรับกำหนดค่า Opacity (ความทึบของสี) และด้านล่างอีก 2 ปุ่ม ใช้สำหรับกำหนดสีที่ต้องการ 

จุดทั้งสี่่จุดนี้ สามารถเลื่อนไปยังตำแหน่งทีใดที่ต้องการได้ โดยการคลิกและลาก สามารถดูตัวเลขของตำแหน่งได้จากช่อง Location จุดเริ่มต้นของ Location คือ 0 - 100 


การเพิ่มจุดสี ถ้าต้องการเพิ่มจุดสีตรงใหน ก็ให้คลิกเพิ่มในแนวเดียวกับจุดสี เช่นในภาพ ได้เพิ่มจุดสีขึ้นมาอีก 1 จุดตรงกลางของแถบสี 

การลบจุดสี ก็เพียงคลิกและลากออกมานอกกรอบเครื่องมือ หรือจะคลิกแล้วกดปุ่ม Delete ก็ได้ Opacity ก็ทำเช่นเดียวกับการเพิ่ม และลบจุดสี 


การเลือกสีให้กับแต่ละจุด ทำได้โดยการคลิกที่จุดสี และมาคลิกที่ช่อง Color หรือจะดับเบิ้ลคลิกที่จุดสีก็ได้ จะมีหน้าต่าง Color Picker แสดงขึ้นมาเพื่อให้เลือกสี

การตั้งค่า Opacity โดยคลิกที่จุดของ Opacity จะมีตัวเลขแสดงที่ช่อง Opacity และมาตั้งตัวเลขที่ต้องการ จุด Opacity นี้ก็ทำเลื่อนตำแหน่งได้เช่นกัน

การบันทึกค่า Gradient สามารถบันทึกค่าที่ได้ตั้งไว้เพื่อใช้งานในครั้งต่อไป ตามขั้นตอนดังนี้...
พิมพ์ชื่อที่ช่อง Name แล้วกดปุ่ม New ชุดสีของเราก็จะแสดงอยู่ในช่อง Preset สำหรับใช้ในครั้งต่อไป กดปุ่ม OK เพื่อให้เครื่องมือเก็บสีของเราไว้

การจัดชุดสี Gradient เพื่อการเรียกใช้งาน 
โปรแกรมเมนู Edit เลือก Preset เลือก Preset Manager จากนั้นคลิกเลือก Gradient ในช่อง Preset Type จะเห็นสี Gradient แต่ละสีที่เรากำหนดไว้ 

คลิกแต่ละสีที่เราเคยสร้างไว้ก่อนหน้า จะกี่สีก็ได้โดยการกดปุ่ม Ctrl + คลิกสีที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม Save Set ตั้งชื่อให้กับชุดสีของเรา แล้วกดปุ่ม Save กลับมากดปุ่ม Done ที่หน้าต่าง Preset Manager อีกครั้ง เท่านี้ก็เรียบร้อย ครั้งต่อไปที่เราจะใช้ ก็เพียงคลิกปุ่ม Load ของ Gradient tool ชุดสีนั้นก็จะถูกเรียกขึ้นมาให้เลือกเพื่อการใช้งาน


การลด Noise  

Noise คือ จุดมากมายที่แสดงอยู่บนภาพ มักจะเกิดกับภาพที่ตั้งค่า Contrast ไว้สูงมาก เมื่อขยายภาพให้ใหญ่มากๆ จะเห็นสิ่งที่เรียกว่า Noise สามารถแบ่ง Noise ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ Luminance noise ซึ่งเกิดจากความสว่าง และ Color noise เกิดจากสี และความอิ่มตัวของสี

เครื่องมือ Reduce Noise เป็นเครื่องมืออันดับแรกที่ใช้สำหรับการลด Noise โดยการเปิดจากโปรแกรมเมนู Filter เลือก Noise เลือก Reduce Noise หน้าต่างเครื่องมือก็จะเปิดขึ้นให้ทำการปรับ ค่า Default ของเครื่องมือจะอยู่ที่โหมด Basic 

ขั้นตอนการปรับค่าเพื่อลด Noise แบ่งได้เป็น 2 ส่วน
  • ขั้นตอนการปรับค่าเพื่อลด Luminance noise  :
    • ลดเปอร์เซ็นต์ของ Reduce Color Noise
    • ลดเปอร์เซ็นต์ของ Sharpen Details
    • ลดเปอร์เซ็นต์ของ Strength ให้สังเกตุว่าถ้าการลด Strength แล้วทำให้ตัวเลขในช่อง Preserve Details หายไป ให้ทำการปรับเพิ่มคา Strength จนตัวเลขในช่อง Preserve Details  กลับมา
  • ขั้นตอนการปรับค่าเพื่อลด Color noise  :
    • เพิ่มเปอร์เซ็นต์ของ Reduce Color Noise โดยปรับลดลงมาให้เป็น 0 ก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่ม พร้อมสังเกตุการลดลงของ Color Noise
    • เพิ่มเปอร์เซ็นต์ของ Strength ถ้ารายละเอียดภาพไม่ชัดให้ปรับค่า Preserve Details เพิ่มขึ้น
Advance Mode เป็นการปรับลด Color Noise ให้ลดลงไปอีก โดยทำการปรับให้กับแต่ละสี การปรับให้ปรับเพิ่มค่า Strength 10% กับทุกสี ส่วน Preserve Details ให้สังเกตุจากภาพว่ามีสีอะไรมาก และรองลงมา โดยปรับเปอร์เซ็นต์ให้กับสีที่มากประมาณ 40% รองลง 25% และ น้อยสุด 5% แต่อาจปรับลด หรือ เพิ่มขึ้นได้อีก โดยจะต้องพิจารณาภาพตามไปด้วย

Remove JPEG Artifact ให้คลิกเลือกช่องนี้ก่อนการปรับ ถ้าภาพที่นำมาปรับลด Noise เป็นภาพ JPEG ที่มีการลดขนาดภาพลงมามากๆ

Dust and Scratches กับ Median เครื่องมือสองตัวนี้ใช้สำหรับช่วยในการลด Noise เช่นกัน ต่างกันที่ Median จะไม่มีค่า Threshold ให้ทำการปรับ ส่วนมากจะใช้เสริมจากการปรับด้วยเครื่องมือ Reduce Noise แล้ว การเปิดเครื่องมือ เปิดจากโปรแกรมเมนู Filter เลือก Noise เลือก Dust and Scratches หรือ Median



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น